ระเบียบกรมการจัดงาน
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาติการทำงานของคนต่างด้วย พ.ศ.๒๕๔๗
เพื่อให้การพิจารณาอนุญาติการทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นไปโดยรอบคอบตรงตามเจตนารมณ์ของกฏหมายสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาติการทำงานคนต่างด้าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระ เบียบบริหารราชการแผ่นดิน (แฉบับที่ ๕ ) พ.ศ. ๒๕๔๕ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณษอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๗ ”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
( ๑) ระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
( ๒) ระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
( ๓) ระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๔๖ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖
ข้อ ๔ การออกใบอนุญาตให้กับคนต่างด้าวตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ ให้พิจารณาอนุญาตตามความจำเป็นและความเหมาะสมโดยคำนึงถึง
( ๑) ความมั่นคงภานฃยในราชอาณาจักรด้านการเมือง ศาสนา เศรษฐกิจและสังคม
( ๒) การปกป้องมิให้คนต่างด้าวเข้ามาแย่งอาชีพที่คนไทยมีความรู้ความสามารถที่จะทำได้ และมีอำนาจเพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานภายในราชอาณาจักร
( ๓) ประโยชน์จากการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในตำแหน่งงานนนั้นก่อให้เกิดการนำเงินตราตางประเทศเข้ามาลงทุนหรือใช้จายในประเทศจำนวนมาก ก่อให้เกิดการจ้างงานคนไทยจำนวนมาก หรือเป็นตำแหน่งที่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญในวิทยาการสมัยที่เป็นประโยชน์ต่อการกัมนาเศรษฐกิจของประเทศ และมีการถ่ายทอดให้คนไทย
( ๔) การพัฒนาทักาะฝีมือที่คนไทยจะได้รับจากการที่คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานได้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ วิธีการ รายละเอียดที่เกี่ยวข้องของเครื่องจักร เครื่องมือ และความรู้ความชำนาญในงานวิจัยการสมัยใหม่ให้แก่คนไทยในงานนั้น
( ๕) หลักมนุษยธรรม
ข้อ ๕ การพิจารณาออกใบอนุญาตตามข้อ ๔ ให้อนุญาตได้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
( ๑) คนต่างด้าวเข้ามาปฏิบัติงานในสถาบันการเงินในการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือกระทรวงการคลัง หรือหนวยงานของรัฐซึ่งกำกับดูแลสถาบันการเงิน โดยมีหนังสือรับรองจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือระทรวงการคลัง หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งกำกับดูแลสถาบันการเงิน ให้อนุญาตตามจำนวนที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรอง
( ๒) คนต่างด้าวตามที่มีหนังสือรับรองจากราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนตามกฏหมายว่าด้วยแงค์การมหาชน ที่เกี่ยงข้องซึ่งระบุชื่อตำแหน่งงาน และระยะเวลาการทำงานขงคนต่างด้าวนั้น
( ๓) คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่มีขนาดการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่าสองล้านบาท โดยทุก ๆ สองล้านบาทให้อนุญาตได่ฃ้หนึ่งคน หรือนายจ้างจดทะเบียนนิติบุคคลในต่างประเทศและเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยก่อนวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๕ ที่ไม่มีหลักฐานการนำเงินเข้ามาจากต่างประเทศให้พิจารณาจากขนาดของการลงทุนจากจำนวนเงินคงเหลือตามที่ปรากฏในรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีธนาคารย้อนหลังหกเดือน จำนวนตั้งแต่สามล้านบาทขึ้นไป โดยทุก ๆ ทสามล้านบามได้อนุญาตได้หนึ่งคน เว้นแต่คนต่างด้าวมีคู่สมรสเป็นคนไทยซึ่งจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฏหมายและกินอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาโดยเปิดเผย ขนาดของการลงทุนตามที่กำหนดไว้ให้ลดลงกึ่งหนึ่ง ทั้งนี้ให้อนุญาตได้ไม่เกินสิบคนเว้นแต่การพิจารณาอนุญาตตามความเหมาะสมในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
( ก) ทำงานกับนายจ้างที่ได้ชำระภาษีเงินได้ให้แก่รัฐในรอบปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าสามล้านบาท
( ข) ทำงานกับนายจ้างที่ดำเนินธุรกิจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศและนำเงินตรต่างประเทศเข้าประเทศไม่น้อยกว่าสามสิบล้านบาทขึ้นไปในปีที่ผ่านมา
( ค) ทำงานกับนายจ้างที่ดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งนำชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ไม่น้อยกว่าห้าพันคนในรอบปีที่ผ่านมา
( ง) ทำงานับนายจ้างที่มีการจ้างงานคนไทยไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน
( ๔) คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่มีขนาดของการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่าสองล้านบาท หรือนายจ้างจดทะเบียนนิติบุคคลในต่างประเทศและเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยที่มีขนาดของการลงทุนจากเงินที่นำมาจากต่างประเทศไม่ต่ำกว่าสามล้านยาท ในลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้มิให้นำข้อจำกัดในเรื่องจำนวนคนต่างด้าวตามความในข้อ ๕ ( ๓) มาใช้บังคับ
( ก) คนต่างด้าวทำงานที่ใช้เทคโนโลยีซึ่งคนไทยยังทำไม่ได้ หรือมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานภายในประเทศ โดยให้มีการถ่ายทอดให้แก่คนไทยอย่างน้อยสองคน ภายในระยะเวลาที่กำหนด
( ข) คนต่างด้าวทำงานโดยใช้ความรู้ความชำนาญเฉพาะทางเพื่อให้งานสำเร็จภายใต้โครงการที่มีระยะเวลากำหนดไว้แน่นอน
( ๕) คนต่างด้าวทำงานในมูลนิธิ สมาคม หรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์ไม่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจหรือเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม มิให้นำหลักเกณฑ์ในข้อ ๕(๓) มาใช้บังคับ
( ๖) คนต่างด้าวที่เข้ามาประจำสำนักงานผู้แทนนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเข้ามาให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าของสำนักงานใหญ่ที่จำหน่ายแก่ตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ใช้สินค้า การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ของสำนักงานใหญ่ และการรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ทราบให้อนุญาตได้ไม่เกินสองคน คนต่างด้าวที่เข้ามาหาแหล่งจัดซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าที่สำนักงานใหญ่ซื้อหรือจ้างผลิตในประเทศไทยให้อนุญาตได้ไม่เกินห้าคน เว้นแต่สำนักงานผู้แทนนั้นสามารถหาแหล่งจัดซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทยมีมูลค่าการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการในรอบปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
( ๗) คนต่างด้าวที่เข้ามาประจำสำนักงานภูมิภาคของนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายของต่างประเทศและเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศอื่น เพื่อให้บริการในด้านต่างๆ ได้แก่ การติดต่อประสานงานและการกำกับการดำเนินงานของสาขาหรือบริษัทใรเครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่ การให้คำปรึกษาหรือบริการในการจัดการฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล การจัดการด้านการเงินและควบคุมการตลาดและการวางแผนส่งเสริมการขาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการวิจัยพัฒนาโดยไม่มีรายได้จากการให้บริการนั้นและไม่มีอำนาจรับคำสั่งซื้อหรือเสนอขายหรือเจรจาทำธุรกิจกับบุคคลหรือนิติบุคคลในประเทศที่เข้าไปตั้ง ทั้งนี้ โดยได้รับเงินค่าใช้จ่ายในสำนักงานจากสำนักงานใหญ่เท่านั้นให้อนุญาตได้ไม่เกินห้าคน เว้นแต่สำนักงานภูมิภาคนั้นนำเงินเข้ามาใช้จ่ายในประเทศไทยในรอบปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท
ข้อ ๖ การพิจารราออกใบอนุญาตตามข้อ ๔ ให้กับคนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงานกับนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่นายจ้างที่มีลักษณะตามข้อ ๕ ให้อนุญาตได้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
( ๑) คนต่าางด้าวทำงานกับนายจ้างที่มีรายได้จากการประกอบกิจการในรอบปีที่ผ่านมาหรือปีปัจจุบันทุก ๆ เจ็ดแสนบาทให้อนุญาตได้หนึ่งคน ทั้งนี้ไม่เกินสาทคน
( ๒) คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่ได้ชำระภาษีเงินได้ให้แก่รัฐในรอบปีที่ผ่านมาทุกๆห้าหมื่นบาทให้อนุญาตได้หนึ่งคน ทั้งนี้ไม่เกินสามคน
( ๓) คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่มีการจ้างคนไทยทุกสี่คนให้อนุญาตได้หนึ่งคนทั้งนี้ไม่เกินสามคน
หลักเกณฑ์ตามความในวรรคหนึ่งให้ลดกึ้ฃ่งหนึ่งในกรณีที่คนต่างด้าวผู้ขอใบอนุญาตมีคู่สมรสเป็นคนไทยซึ่งจดทะเบียนสมรส โดยถูกต้องตามกฏหมายและอยู่กินร่วมกันฉันท์สามีภรรยาโดยเปิดเผย
ข้อ ๗ การพิจารณาอกใบอนุญาตตามข้อ ๔ ให้กับคนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงานให้บริการทางกฏหมายหรืออรรถคดี ให้อนุญาตได้ตามจำนวนที่คู่กรณีตกลงกันในงานดังต่อไปนี้
( ๑) งานปฏิบัติหน้าที่ให้อนุญาตโตตุลาการ
( ๒) งานว่าต่างแก้ต่างในชั้นอนุญาโตตุลาการ ถ้ากฏหมายซึ่งใช้บังคับแก่ข้อพิพาทที่พิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการนั้นมิใช่กฏหมายไทย หรือเป็นกรณีที่ไม่ต้องขอบังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นในราชอาณาจักรไทย
ข้อ ๘ การพิจารณาอนุญาตนอกเหนือจากกรณีหรือหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เป็นอำนาจของอธิบดี
ข้อ ๙ บรรดาคำขอที่เจ้าหน้าที่ได้รับไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ปฏิบัติตามระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.๒๕๔๕ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๕ ระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ และระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว(ฉบับที่ ๓ ) พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖
ข้อ ๑๐ ให้อธิบดีกรมการจัดหางานเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๗
( นายจุฑาธวัช อินทรสุขศรี)
อธิบดีกรมการจัดหางาน